• หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม ร่วมบริการวิชาการและวิจัยให้กับโครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดาริ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี

    หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม ร่วมบริการวิชาการและวิจัยให้กับโครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดาริ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี ในการศึกษาชนิดและปริมาณตะกอนของฝายชะลอความชุ่มชื้น การศึกษาค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ค่าออกซิเจนที่ละลายในน้ำ และค่าการน้ำไฟฟ้า ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพน้ำพื้นฐานที่อยู่ในฝายชะลอความชุ่มชื้น ปริมาณไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียมในดินและน้ำ ซึ่งเป็นเป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพอาหารในดินที่เหมาะสาหรับการเจริญเติบโตของพืช และศึกษาปริมาณค่าโลหะหนัก ได้แก่ ปริมาณเหล็ก ตะกั่ว และแมงกานีสในดินและน้ำที่เกิดจากการชะล้างพังทลายของดิน บริเวณโครงการห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พื้นที่ หมู่ 3 บ้านวังอ้ายป่อง ตำบลแก่งดินสอ อำเภอนาดี จังหวัดปราจีนบุรี

    อ่านเพิ่มเติม

  • ขอแสดงความยินดี กับตัวแทนนักศึกษาหลักสูตรอนามัยสิ่งแวดล้อมและสาธารณภัย ที่ได้รับการถ่ายทอด  Green Youth DNA จากรุ่นพี่หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้รับรางวัลระดับทอง 3 ปีซ้อน

    ขอแสดงความยินดี กับตัวแทนนักศึกษาหลักสูตรอนามัยสิ่งแวดล้อมและสาธารณภัย ที่ได้รับการถ่ายทอด Green Youth DNA จากรุ่นพี่หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้รับรางวัลระดับทอง เป็นที่ 1 ของประเทศ (จากจำนวนมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมแข่งขัน 59 มหาวิทยาลัย และได้รับรางวัลระดับทอง 5 มหาวิทยาลัย ระดับเงิน 15 มหาวิทยาลัย และระดับทองแดง 24 มหาวิทยาลัย) จากรอบตัดสินโดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 8-10 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา รางวัล Green Youth ของโครงการการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย
    (Green Youth) ประจำปี 2564
    นักศึกษาชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ซึ่งเป็นนักศึกษาของหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและหลักสูตรอนามัยสิ่งแวดล้อมและสาธารณภัย ได้รับโล่รางวัล อยู่ใน เกณฑ์มาตรฐานระดับทอง 3 ปีซ้อน จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2562 – 2564 ภายใต้โครงการ Green & Clean University (พื้นที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ ถนนสิรินธร) ได้จัดการขยะเศษอาหารภายในศูนย์วิทยาศาสตร์เป็นน้ำหมักชีวภาพที่มีคุณภาพสูง เป็นปุ๋ยหมักชีวภาพที่มีคุณภาพสูง และเป็นกระถางปลูกต้นไม้รักษ์โลก ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจและความสำเร็จของการจัดการเรียนการสอนทางด้านสิ่งแวดล้อม ที่จัดการเรียนการสอนแบบ Problem Based Learning ที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ได้ฝึกปฏิบัติจริงและมีทักษะทางด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสื่อสารทางด้านสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี และเป็นเยาวชนของประเทศที่มีคุณภาพและมีทักษะในศตวรรษที่ 21 สามารถสร้างทักษะและเพิ่มมูลค่าให้ตนเอง ชุมชน สังคมและประเทศ และสอดคล้องกับนโยบายและแผนกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นไปตาม พรบ.การอุดมศึกษา พ.ศ. 2562 มาตรา 13 สถาบันอุดมศึกษาพึงเป็นแบบอย่างให้แก่สังคมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ และตัวชี้วัดความยั่งยืนของสถาบันอุดมศึกษา ชุมชนและสังคม (Green/Sustainability) คือ SDG 12 : การสรรหาแหล่งอาหารและสิ่งอุปโภคบริโภค และการจัดการขยะและการลดการใช้ทรัพยากร (Responsible Consumption and Production) ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาพึงเป็นแบบอย่างให้แก่สังคมในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ

  • เอกสารดาวน์โหลด

    ดาวน์โหลดโครงสร้างหลักสูตร
  • ผลงานวิชาการ/บทความ

    ผศ.ดร.ประวรดา โภชนจันทร์

    งานวิจัย

    ประวรดา โภชนจันทร์, จตุรดา โภชนจันทร์, และพิทักษ์ จันทร์เจริญ. (2564). ถังดักไขมันที่เหมาะสมและบารุงรักษาได้ง่ายสาหรับร้านค้าที่ผลิตอาหารขนาดเล็ก. วารสารวิทยาศาสตร์ คชสาส์น. 43(1), 1-15.

    ประวรดา โภชนจันทร์, และพิษฐา พงษ์ประดิษฐ. (2562). การศึกษาต้นไม้ใหญ่ริมถนนในเขตดุสิต เขตพระนคร และเขตสัมพันธวงศ์ของ กรุงเทพมหานครเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทางประวัติศาสตร์. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์. 19(1), 1-17.

    ผศ.ดร.ยุวรัตน์ พจน์พิศุทธิพงศ์

    งานวิจัย

    Photphisuthiphong, Y., & Vatanyoopaisan, S. (2020). The production of bacterial cellulose from organic low-grade rice. Curr. Res. Nutr Food Sci Jour. 8(1), 206-216.

    Photphisutthiphong, Y., & Vatanyoopaisarn, S. (2019). Dyadobacter and Sphingobacterium isolated from herbivore manure in Thailand and their cellulolytic activity in various organic waste substrates. Agr.Nat.Resour. 53, 89-98.

    Photphisutthiphong, Y., & Vatanyoopaisarn, S. (2019). Production of vinegar from jackfruit rags and jackfruit seeds. The journal of applied science, 18, 75-93.

    ดร.พันชัย เม่นฉาย

    งานวิจัย

    วาศนศักดิ์ ลิ้มควรสุวรรณ, และพันชัย เม่นฉาย. (2563). การศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อเม็ดตะกอนจุลินทรีย์ในถังยูเอเอสบีของโรงงานผลิตเอทานอล. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด:วิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยี. 1(1), 14-25.

    พันชัย เม่นฉาย, วิชญา ติยะพงษ์, ประพันธ์ ปาริฉัตร, ปิติ สุทธิ, และณัฐณิชา มีงาม. (2562). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวัดความสุขในการทางานของบุคลากรในมหาวิทยาลัย. วารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต. 15(2), 69- 84. 

    สิรวัลภ์ เรืองช่วย, ตู้ประกาย, พันชัย เม่นฉาย, ปารินดา สุขสบาย, และอุบล ชื่นสาราญ. (2562). การวิเคราะห์ปริมาณสารไอโอดีนในปัสสาวะของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ในการประชุมวิชาการระดับชาติสวนดุสิต 2019, ครั้งที่ 4 (น.130-136). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

    สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกาย, ปริศนา เพียรจริง, ปารินดา สุขสบาย, พันชัย เม่นฉาย, และจารุณี วิเทศ (2562). การแปรรูปผลิตภัณฑ์ว่านหางจระเข้ด้วยสมุนไพรเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ. ในการประชุมวิชาการระดับชาติสวนดุสิต 2019, ครั้งที่ 4 (น.137- 146). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

    ผศ.ดร.แทนทัศน์ เพียกขุนทด

    งานวิจัย

    แทนทัศน์ เพียกขุนทด, และอาภาพรรณ สัตายาวิบูล. (2563). พื้นที่ริมน้า: ความสัมพันธ์ของการใช้ที่ดินกับคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาลุ่มน้าท่าจีน. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา. 2(2), 30-44.

    แทนทัศน์ เพียกขุนทด, วิฑูรย์ คงผล, ทรงศักดา ชยานุเคราะห์, และอาภาพรรณ สัตยาวิบูล. (2562). ระบบสารสนเทศเพื่อการเฝ้าระวังคุณภาพน้าและเตือนภัยแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานของชุมชนผู้เลี้ยงปลาในกระชัง จังหวัดตรัง ผ่านระบบแอปพลิเคชั่น. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา. 1(4), 51-66.

    แทนทัศน์ เพียกขุนทด และอาภาพรรณ สัตยาวิบูล. (2562) .ระบบสารสนเทศเพื่อการเฝ้าระวังคุณภาพน้าและเตือนภัยน้าเค็มเพื่อเกษตรกรผู้เพาะปลูกกล้วยไม้ผ่านระบบแอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือ.ในการประชุมวิชาการระดับชาติสวนดุสิต 2019, ครั้งที่ 4 (น.236-246). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย สวนดุสิต.

    ผศ.พิษฐา พงษ์ประดิษฐ

    งานวิจัย

    ประวรดา โภชนจันทร์, และพิษฐา พงษ์ประดิษฐ. (2562). การศึกษาต้นไม้ใหญ่ริมถนนในเขตดุสิต เขตพระนคร และเขตสัมพันธวงศ์ของ กรุงเทพมหานครเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทางประวัติศาสตร์. วารสารก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์. 19(1), 1-17.

    หนังสือ

    พิษฐา พงษ์ประดิษฐ. (2561). ศิลปะการดารงชีวิตในการสร้างสรรค์สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ: บริษัท โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์ จำกัด. 196 หน้า.

    ผศ.ดร.ปารินดา สุขสบาย

    งานวิจัย

    Mayura Srikanlayanukul, & Parinda Suksabye (2020). Effect of mixture ratio of food waste and ventiver grass on biogas. Applied Environmental Research. 42(3), 40-48.

    สิรวัลภ์ เรืองช่วย, ตู้ประกาย, พันชัย เม่นฉาย, ปารินดา สุขสบาย, และอุบล ชื่นสาราญ. (2562). การวิเคราะห์ปริมาณสารไอโอดีนในปัสสาวะของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ในการประชุมวิชาการระดับชาติสวนดุสิต 2019, ครั้งที่ 4 (น.130-136). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

    สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกาย, ปริศนา เพียรจริง, ปารินดา สุขสบาย, พันชัย เม่นฉาย และจารุณี วิเทศ (2562). การแปรรูปผลิตภัณฑ์ว่านหางจระเข้ด้วยสมุนไพรเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์สุขภาพ. ในการประชุมวิชาการระดับชาติสวนดุสิต 2019, ครั้งที่ 4 (น.137- 146). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

    ดร.อาภาพรรณ สัตยาวิบูล

    งานวิจัย

    แทนทัศน์ เพียกขุนทด, และอาภาพรรณ สัตายาวิบูล. (2563). พื้นที่ริมน้ำ: ความสัมพันธ์ของการใช้ที่ดินกับคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาลุ่มน้าท่าจีน. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา. 2(2), 30-44.

    แทนทัศน์ เพียกขุนทด, วิฑูรย์ คงผล, ทรงศักดา ชยานุเคราะห์, และอาภาพรรณ สัตยาวิบูล. (2562).ระบบสารสนเทศเพื่อการเฝ้าระวังคุณภาพน้าและเตือนภัยแบบมีส่วนร่วมบนพื้นฐานของชุมชนผู้เลี้ยงปลาในกระชัง จังหวัดตรัง ผ่านระบบแอปพลิเคชั่น. วารสารสังคมวิจัยและพัฒนา. 1(4), 51-66.

  • กิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ผลิตภัณฑ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

  • หลักสูตรสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรมเข้ารับรางวัลผลการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ระดับประเทศ ปี 2562 ระดับทอง จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

    คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ผศ.ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับมอบหมายจาก ผศ.ดร.วิชชา ฉิมพลี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมผศ.ดร.ประวรดา โภชนจันทร์ อาจารย์ที่ปรึกษาชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นำนักศึกษาชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ซึ่งเป็นนักศึกษาของหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและหลักสูตรสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม เข้ารับโล่รางวัลจากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2562 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2564 ณ โรงแรม ทีเค พาเลซ กรุงเทพมหานคร

  • รางวัลโครงการกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (GREEN YOUTH) ระดับประเทศ ประจำปี 2563

    ผศ.ดร.ประวรดา โภชนจันทร์ และนักศึกษาของหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม, หลักสูตรสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม และหลักสูตรอนามัยสิ่งแวดล้อมและสาธารณภัย (หลักสูตรใหม่) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รับโล่รางวัล ระดับทอง จากอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ซึ่งจัดงานมอบรางวัลผลการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ระดับประเทศ ประจำปี 2563  จากจำนวนมหาวิทยาลัยทั่วประเทศที่ได้รับรางวัลตามเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว 52 แห่ง โดยแบ่งเป็นระดับทอง 12 แห่ง ระดับเงิน 16 แห่ง และระดับทองแดง จำนวน 24 แห่ง ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในวันที่ 28 มีนาคม 2565 ซึ่งนักศึกษาหลักสูตรดังกล่าว ได้รับโล่รางวัลระดับทอง เป็นปีที่ 2 จากการดำเนินการกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ประจำปี 2562 ซึ่งใช้โครงการ Green & Clean University 2019 (พื้นที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ ถนนสิรินธร) 

  • ม.สวนดุสิต รับโล่รางวัลระดับทอง ในงานมอบรางวัลโครงการกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (GREEN YOUTH) ระดับประเทศ ประจำปี 2563

    ผศ.ดร.ประวรดา โภชนจันทร์ และนักศึกษาของหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม, หลักสูตรสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม และหลักสูตรอนามัยสิ่งแวดล้อมและสาธารณภัย (หลักสูตรใหม่) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รับโล่รางวัล ระดับทอง จากอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ซึ่งจัดงานมอบรางวัลผลการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ระดับประเทศ ประจำปี 2563  จากจำนวนมหาวิทยาลัยทั่วประเทศที่ได้รับรางวัลตามเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว 52 แห่ง โดยแบ่งเป็นระดับทอง 12 แห่ง ระดับเงิน 16 แห่ง และระดับทองแดง จำนวน 24 แห่ง ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในวันที่ 28 มีนาคม 2565 ซึ่งนักศึกษาหลักสูตรดังกล่าว ได้รับโล่รางวัลระดับทอง เป็นปีที่ 2 จากการดำเนินการกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ประจำปี 2562 ซึ่งใช้โครงการ Green & Clean University 2019 (พื้นที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ ถนนสิรินธร) 

    เครดิต: By สรรค์วเรศ

Translate »